โคโรน่าไวรัส 19
โคโรน่าไวรัส คืออะไร….
ไวรัสโคโรนาเป็นไวรัสในวงศ์ใหญ่ที่เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจทั้งในสัตว์และคน ซึ่งไวรัสโคโรนาหลายสายพันธุ์ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ ตั้งแต่ โรคหวัดธรรมดาจนถึงโรคที่มีอาการรุนแรง ตัวอย่าง เช่น โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS) และ โรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง (SARS) ไวรัสโคโรนาที่ค้นพบสายพันธุ์ล่าสุดที่มีการระบาดในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนในเดือนธันวาคมปี 2019 ทำให้มีชื่อเรียกว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) นั่นเอง
ซึ่งโรคโควิด-19 และโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A หรือ B ซึ่งเป็นกลุ่มโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจที่กำลังแพร่ระบาดในปัจจุบัน แยกความแตกต่างค่อนข้างยาก เนื่องจากอาการคล้ายคลึงกัน
ในเบื้องต้นแนะนำให้ตรวจ ATK เพื่อวินิจฉัยว่ามีผลติดเชื้อไวรัส Covid-19 หรือไม่ สำหรับโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A,B และโรคโควิด-19 ผู้ป่วยจะมีอาการเด่นชัดเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ไอ ไอมีเสมหะ ไอแห้ง เจ็บคอ เสียงแหบ (บางราย) มีน้ำมูก คัดจมูก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคภูมิแพ้เป็นโรคประจำตัว จะพบว่ามีอาการแน่นจมูก มีน้ำมูก ได้บ่อยกว่าคนทั่วไป
ติดต่อได้จากทางไหน
เชื้อไวรัสโคโรน่าสามารถเข้าสู่ร่างกายได้จากการแพร่กระจายเชื้อของ ”ละอองฝอย” เป็นช่องทางหลักจากการไอ การจาม น้ำลาย น้ำมูก เมื่อร่างกายสูดดมสารคัดหลั่งเหล่านี้ก็จะติดเชื้อ โดยมีระยะฟักตัว 2–14 วัน และเมื่อผู้ป่วยมีอาการ โดยแสดงอาการเจ็บป่วยออกมาแล้วก็ยังแพร่โรคต่อไปได้อีกเรื่อยๆ ดังนั้น มาตรการกักตัวหรือเว้นระยะห่าง 14 วัน จึงช่วยลดการระบาดลงได้
อาการที่พบบ่อย
ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เมื่อยตัว
เสียงเปลี่ยนและมีเสมหะ
มีไข้สูง 39 องศาเซลเซียส
รู้สึกหนาว แต่เหงื่อออก
มีน้ำมูกคัดจมูก
คอแห้ง รู้สึกคันคอและไอ
เจ็บคอ กลืนน้ำลายแล้วเหมือนมีมีดบาด
เหนื่อย อ่อนเพลียกว่าปกติ นอนซมไม่อยากทำอะไร
การดูแลรักษา Covid-19
แบ่งเป็นกลุ่มตามความรุนแรงของโรคและปัจจัยเสี่ยง ดังต่อไปนี้
1. ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ
ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยแยกกักตัวที่บ้าน (Self Isolation)
รักษาตามอาการ ตามดุลยพินิจของแพทย์ ไม่ให้ยาต้านไวรัส เช่น favipiravir หรือ molnupiravir เนื่องจากผู้ป่วยไม่มีอาการ
อาจพิจารณาให้ยาฟ้าทะลายโจร ตามดุลยพินิจของแพทย์
2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่ลงปอด ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงปกติ
อาจพิจารณาให้ยาแบบรับประทาน favipiravir หรือ molnupiravir ควรเริ่มยาโดยเร็วที่สุด
ตามดุลยพินิจของแพทย์
หากตรวจพบเชื้อเมื่อผู้ป่วยมีอาการมาแล้วเกิน 5 วัน และผู้ป่วยไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อยอาจ
ไม่จำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัส เพราะผู้ป่วยจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน
3. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงแต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือมีโรคร่วมสำคัญ
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง ได้แก่
1. อายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป
2. โรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ ตับ ไต ปอด โรคหลอดเลือดสมอง
3. เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
4. ภาวะอ้วน
5. ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
6. ผู้ติดเชื้อเอชไอวี
- ให้ยาต้านไวรัสแบบรับประทาน 1 ตัว โดยควรเริ่มภายใน 5 วัน ตั้งแต่เริ่มมีอาการจึงจะได้ผลดี และให้ยาตามอาการ
- อาจพิจารณาให้นอนรักษาที่โรงพยาบาล ตามดุลยพินิจของแพทย์
4. ผู้ป่วยที่มีอาการป่วยรุนแรง
ผู้ป่วยที่มีอาการต่อไปนี้ ควรพิจารณารับไว้รักษาในโรงพยาบาล
1. ไข้ 39 องศาเซลเซียส ขึ้นไป โดยวัดอย่างน้อยห่างกัน 4 ชั่วโมง ใน 24 ชั่วโมงมีภาวะขาดออกซิเจน O2 saturation ต่ำกว่า 94% หรือมีอาการเหนื่อย หอบ หายใจไม่สะดวก
2. มีภาวะแทรกซ้อน หรือการกำเริบของโรคประจำตัวเดิม
3. เป็นผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่ออาการรุนแรง และไม่มีผู้ดูแลตลอดทั้งวัน
4. ผู้ป่วยเด็ก ซึม ทานไม่ได้ มีภาวะขาดน้ำที่จำเป็นต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ หรือต้องการออกซิเจน หรือไข้สูงลอยเสี่ยงต่อการชัก
- อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัสทางหลอดเลือดดำ remdesivir โดยเร็วที่สุด เป็นระยะเวลา
3-5 วัน ตามดุลยพินิจของแพทย์
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ
ภาวะหายใจล้มเหลวฉับพลัน
ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
ภาวะ Long Covid ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นภายหลังจากหายจากโรคโควิด-19 พบระยะเวลาที่เกิดอาการตั้งแต่ 1 ถึง 3 เดือนหลังจากการติดเชื้อ อาการที่พบบ่อย ได้แก่ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไอ เจ็บแน่นหน้าอก เวียนศีรษะ วิตกกังวล นอนไม่หลับ
คำแนะนำและการป้องกัน
1. ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด
2. ผู้ป่วยควรสวมหน้ากากอนามัย
3. ไอหรือจามใส่แขนพับ หัวไหล่ หรือลงในคอหรือสาบเสื้อ หลีกเลี่ยงการใช้มือป้องปากและจมูก
4. กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆ
5. ไม่นำมือมาสัมผัสหรือขยี้ตา แคะขี้มูก ปาก และใบหน้า
6. หลีกเลี่ยงการไปสถานที่แออัด คนจำนวนมาก
7. รักษาระยะห่างจากสังคม (Social Distancing) โดยห่างกันสักนิดอย่างน้อย 1–2 เมตร
8. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอหรือจาม
9. งดการเดินทางไปยังสถานที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรค
10. งดการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น
การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19
วัคซีนโควิด 19 ที่มีให้บริการในประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มีนาคม 2564) มี 2 ชนิด คือ
1. วัคซีนป้องกันโควิด 19 แอสตร้าเซนเนกา (COVID-19 Vaccine AstraZeneca)
เป็นวัคซีนแบบ Viral Vector โดยให้ในในผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยต้องได้รับวัคซีนทั้งหมด 2 ครั้ง ห่างกัน 10–12 สัปดาห์ ช้าสุดไม่เกิน 16 สัปดาห์
2. วัคซีนโคโรนาแวค หรือ ซิโนแวค (CoronaVac หรือ Sinovac COVID-19 vaccine)
เป็นวัคซีนเชื้อตาย (Inactivated Vaccine) ซึ่งขณะนี้กำหนดให้ในผู้ที่มีอายุ 18–59 ปี โดยต้องได้รับวัคซีนทั้งหมด 2 ครั้ง ห่างกัน 21 วัน หรือ 2–4 สัปดาห์
สำหรับวัคซีนป้องกันโควิดที่เหลือนั้น ภาครัฐจะให้เอกชนเป็นฝ่ายจัดหาเพิ่มเติม เช่น ไฟเซอร์ (Pfizer), โมเดิร์นนา (Moderna), ซิโนฟาร์ม (Sinopharm), จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (J&J)
หรือ บารัต (Bharat) ของอินเดีย ซึ่งสำหรับส่วนที่เหลือนี้เอง ที่เรียกว่า ”วัคซีนทางเลือก”
ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด 19
อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ ปวด บวม แดง คัน หรือช้ำบริเวณที่ฉีดยา อ่อนเพลีย และรู้สึกไม่สบายตัว ปวดศีรษะเล็กน้อย อาการคล้ายมีไข้ คลื่นไส้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อ
อาการที่พบได้ไม่บ่อยหรือพบได้น้อย เช่น มีไข้ มีก้อนที่บริเวณที่ฉีดยา เวียนศีรษะ มึนงง ใจสั่น ปวดท้อง อาเจียน ความอยากอาหารลดลง เหงื่อออกมากผิดปกติ ต่อมน้ำเหลืองโต อาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ไอ เป็นต้น
ข้อห้ามในการฉีดวัคซีน
มีประวัติแพ้รุนแรงต่อส่วนประกอบของวัคซีน
ผู้ที่ฉีดเข็มแรกแล้วมีอาการแพ้รุนแรง เช่น หายใจติดขัด บวมที่หน้า ลิ้น หรือในทางเดินหายใจ เป็นต้น
มีไข้เกิน 38 องศาเซลเซียส หรือมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงในวันที่มาฉีด
ตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก หรืออายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์
Q & A
เด็กสามารถฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ไหม
“ ฉีดได้ “ แนะนำให้เด็กอายุ 5 ปี ขึ้นไป โดยจะเน้นวัคซีนไฟเซอร์เป็นหลักให้ครบ 2 เข็ม
ระยะห่าง 8 สัปดาห์ หรือ 2 เดือน และ ควรได้รับวัคซีนเข็ม 3 กระตุ้นไฟเซอร์ (booster dose)
โดยระยะห่างจากเข็มที่ 2 4-6 เดือน
หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร สามารถฉีดได้ไหม
“ ให้ได้ “ แนะนำให้ฉีดในคุณแม่ทุกคนหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ หรือ 3 เดือนขึ้นไป
คุณแม่สามารถฉีดได้ทั้งวัคซีน เชื้อตาย (Sinovac) , viral vector (Astrazeneca)
และ mRNA (Moderna, Pfizer) โดยต้องฉีด 2 เข็ม ซึ่งแต่ละชนิดจะมีระยะห่างระหว่าง
2 เข็มต่างกันแล้วแต่ชนิดของวัคซีน
สำหรับหญิงให้นมบุตร สามารถฉีดได้ เพราะ ไม่ได้ถือเป็นข้อห้ามที่จะให้วัคซีน และเมื่อได้รับวัคซีนแล้วก็ไม่ต้องงดนมมารดาแต่อย่างใด
หญิงมีประจำเดือนสามารถรับวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่
วัคซีนโควิด-19 ต่างชนิด/ยี่ห้อ สามารถฉีดสลับกัน (Interchangeable) ได้หรือไม่
ในกรณีที่มารับวัคซีนครั้งที่ 2 เกินกำหนดระยะห่างจากครั้งที่ 1 ควรทำอย่างไร
ต้องมีการฉีดซ้ำเหมือนการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่หรือไม่
หลังติดเชื้อโควิด-19 ควรฉีดวัคซีนตอนไหน
References
World Health Organization (WHO) [Internet] [Cited 2021 March 3] COVID-19 – Landscape of novel coronavirus candidate vaccine development worldwide. Available from : https://www.who.int/publications/m/item/draft-landscape-of-covid-19-candidate-vaccines
https://www.bangpakok3.com/care_blog/view/189
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาดปี 64 ของประเทศไทย. กุมภาพันธ์ 2564
Comments